Pro-project รับทำโปรเจค
การแปลงตัวอักษรชนิด 7 บิตเป็นข้อมูล 8 บิต (Octet)
เนื่องจากการส่งข้อความสั้น (SMS) โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมนั้น ต้องอาศัยการเข้ารหัสข้อความที่ต้องการส่งก่อน แต่เนื่องจากไม่สามารถนำรหัสของตัวอักษรแบบ 7 บิต ใส่ไปได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องผ่านการแปลงให้เป็นรหัสข้อมูลแบบ 8 บิต ก่อน โดยตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการแปลงข้อความ “hellohello” ยาว 10 ตัวอักษร จากอักษรชนิด 7 บิต ให้เป็นข้อมูลชนิด 8 บิต สำหรับใช้ในการส่ง SMS
การแปลงเริ่มจากนำรหัส 7 บิต ของอักษรตัวแรก (h) มาเติมข้างหน้าด้วยรหัสบิตสุดท้าย (รหัสบิตสุดท้าย = 1) ของอักษรตัวที่สอง (e) จะได้ผลลัพธ์ 8 บิต เป็น “ E8” ขั้นตอนต่อมา ให้นำเอา 6 บิต ที่เหลือของอักษรตัวที่ 2 มาเติมข้างหน้าด้วยรหัสสองบิตสุดท้าย (รหัสสองบิตสุดท้าย = 00) ของอักษรตัวที่ 3 (l) จะได้ผลลัพธ์ 8 บิต เป็น “32” และทำเช่นนี้เรื่อยไป โดยจำนวนบิตที่นำมาวางข้างหน้ารหัสอักษร 7 บิต ของตัวถัดไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 บิต , 4 บิต จนกระทั่งถึง 7 บิต แล้วเริ่มกระบวนการใหม่ ดังตัวอย่างการแปลงอักษร

ตัวอย่างการแปลงอักษร
การถอดรหัสตัวอักษรชนิด 7 บิต
ในส่วนของข้อมูลที่เป็นข้อความสั้นในกรณีที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ อักษรแต่ละตัวจะใช้รหัสขนาด 7 บิต ( 7 bits default alphabet) และสำหรับอักษรภาษาอื่นๆ จะใช้ตัวอักษรชนิดอื่น เช่น 8 บิต หรือ 16 บิต สำหรับข้อความสั้นภาษาไทยนั้น ใช้รหัสตัวอักษรแบบ UNICODE ในที่นี้จะกล่าวถึงการถอดรหัสข้อความสั้นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยมีขั้นตอนการถอดรหัส ดังนี้
1) นำ PDU CODE ในส่วนของข้อความสั้น (TP-UD) ซึ่งเป็นเลขฐาน 16 มาเขียนเป็นเลขฐาน 2 ทีละ Octet
2) ตัวอักษรแรกเกิดจากบิตที่ 0 ถึง 6 ของ Octet แรก ตัวอักษรถัดมาเกิดจากบิตที่ 0 ถึง 5 ของOctet ที่ 2 และนำบิตที่ 7 ของ Octet ที่ 1 มาต่อท้าย ตัวอักษรถัดไปเกิดจากบิตที่ 0 ถึง 4 ของOctet ที่ 3 และนำบิตที่ 7 และ 6 ของ Octet ที่ 2 มาต่อท้าย ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
3) นำรหัสตัวอักษร 7 บิต จากข้อสอง เพิ่มบิตที่ 8 ด้วย ‘0’ นำไปเทียบกับตารางรหัส ASCII
|